หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา    บทความ    เว็บบอร์ด    รวมรูปภาพ   การสั่งซื้อ และการชำระเงิน   การจัดส่ง    ติดต่อเรา 

เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 10/02/2010
ปรับปรุง 22/11/2022
สถิติผู้เข้าชม 12,928,522
Page Views 17,254,707
สินค้าทั้งหมด 768
 

หมวดหมู่สินค้า

 
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ค้นหา

ราคา :

หมวดหมู่ :

ยี่ห้อ :

รุ่น :


 

ประเภทสินค้า

 

ช่วยแนะนำหน่อยคับ

(อ่าน 678/ ตอบ 3)

gorillaz (Member)

NU B Level 1

การเลี้ยงกระรอกที่ผึ่งลืมตาหรือกำลังจะลืมตาอะคับ

ขอวิธีดูแลน้องเค้าหน่อย  ละเอียดๆหน่อยนะคับ

ขอบตุณคับ 

Mamew (Member)

NU B Gold Member

1.ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่น คุณจะต้องให้เจ้าตัวน้อยได้รับความอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกระรอกวัยนี้ยังแบเบาะ อ่อนแอมาก ถ้าจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในช่วงที่มีอากาศหนาว หรือเย็นอาจจะต้องใช้ถุงน้ำร้อนมาช่วยทำให้เจ้าตัวน้อยอบอุ่น หาผ้าหนาๆมาให้นอน ไม่ควรตั้งที่นอนของเจ้าตัวน้อยไว้ตากลม หรืออยู่ในห้องแอร์(ถ้าจำเป็นก็ควรหามุมที่อบอุ่นที่สุด)
ไม่เช่นนั้นน้องกระรอกจะไม่สบาย ถ้ากระรอกเป็นหวัดอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
และไม่เฉพาะ ความอบอุ่นทางกายเท่านั้น ลูกกระรอกจะชอบซุกตัวนอนในมือของเรา และจะหลับอย่างสบายในมืออบอุ่นของเจ้าของ เจ้าตัวน้อยมักจะร้องบ่อยๆ เหมือนเด็กเรียกหาแม่ ควรจะให้เวลาเขาได้นอนอยู่ในมือของเราทุกๆวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคยและสายสัมพันธ์ต่อกันด้วย

2.การขับถ่าย ลูกกระรอกที่เล็กมากๆจะไม่สามารถถ่ายเองได้ จำเป็นต้องช่วยกระตุ้น 
ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำอุ่นๆเช็ดที่ก้นและที่ฉี่เหมือนที่แม่กระรอกจะเลียให้ถ่ายออกมา เพราะถ้าไม่ถ่ายก็จะท้องอืดตายได้ อึของเจ้าตัวน้อยทั่วไปแล้วจะไม่ค่อยเป็นก้อนเป็นเพราะอาหารที่กินเข้าไป มักจะถ่ายเป็นสีเข้มนิ่มๆจนถึงเป็นก้อน แต่ไม่ควรมีสีอ่อนมากเกินไป หรือเละเกินไป ถ้ามีสีอ่อนเละ หรือเป็นของเหลว ควรตรวจสอบเรื่องอาหาร และรีบพาไปพบหมอโดยด่วน

3.การให้อาหาร อาหารสำหรับลูกกระรอกนั้น ห้ามให้น้ำนมวัวเป็นอันขาด เพราะในนมวัวนั้นลูกกระรอกเล็กๆจะย่อยไม่ได้ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย และตายไปในที่สุด เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกกระรอกส่วนใหญ่ตายมากที่สุด อาหารที่แนะนำคือ ซีลีแลค (อาหารเสริมสำหรับเด็ก) อาจใช้เป็นสูตรเริ่มต้นก่อน(ราคาประมาณ 45 บาท) ชงกับน้ำร้อน 1ต่อ 3-4(ซีลีแลค1ส่วน น้ำ 3-4ส่วน) หรือเอาใส่ไมโครเวฟต้มประมาณ 20 วินาที(ระวังจะล้นในขณะที่ต้มต้องคอยดู) หรือเป็นนมสำหรับเลี้ยงลูกสนุขหรือลูกสัตว์เล็กๆ ซึ่งจะมีราคาแพงใช้ในกรณีที่คุณหมอแนะนำ หากลูกกระรอกไม่สามารถกินซีลีแลคได้ 

ปริมาณในการให้อาหาร ลูกกระรอกเล็กๆจะกินบ่อยเหมือนกับเด็กทารก คืออย่างน้อยทุกๆ 3-4ชั่วโมง หรือ วันละ 5 ครั้งขึ้นไป โดยใช้Dropper หรือหลอดสำหรับดูดที่มีจุกยางสีส้มป้อน อย่าให้มากเกินไป 2-3 หลอดก็พอ ถ้าอิ่มมากไปจะท้องอืดได้ และอย่าปล่อยให้หิวเกินไปเพราะจะทำให้ เจ้าตัวน้อยรีบกินจะทำให้เลอะเข้าจมูก หรือสำลักได้ จะเป็นอันตรายกับเจ้าตัวน้อยในที่สุด

4.ป่วย ถ้าเจ้าตัวน้อยไม่สบายควรรีบพาไปหาหมอเพราะมีโอกาส เกิดอาการเฉียบพลันได้ง่าย โรคที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง ไม่ควรปล่อยไว้ดูอาการ จะสายเกินไป
- โรคท้องอืด สำหรับเจ้าตัวน้อยที่ไม่ถ่ายก็เป็นอันตรายถึงตายได้ เมื่อให้อาหารแล้วสักพักหนึ่ง ควรมีการเช็ดก้นด้วยสำลีชุบน้ำอุ่นเพื่อนกระตุ้นให้ถ่าย น้องกระรอกที่ท้องอืด ท้องจะบวมผิดปกติ ก้น ถ้าถ่ายไม่ออกนานๆ ก้นจะบวม แดง ถ้าไม่สามารถทำให้ถ่ายได้ ควรพาไปหาหมอ
- โรคท้องเสีย มักเกิดจากอาหาร เช่นให้นมวัว (ไม่ควรให้เด็ดขาด) หรือไม่สามารถกินซีลีแลคได้ หรือสาเหตุอื่นๆ จะมีอาการถ่าย เละเป็นสีอ่อนๆ หรือเป็นของเหลว ก้นจะเปียก เซื่องซึม ซึ่งเป็นอาการขั้นรุนแรง ควรสังเกตการถ่ายของเจ้าตัวน้อยอยู่เสมอถ้ามีอาการที่เริ่มจะท้องเสียควรตรวจสอบอาหาร และรีบไปพบคุณหมอทันทีอย่าปล่อยไว้ เพราะอันตรายมากสำหรับลูกกระรอกที่อายุน้อย
- โรคหวัด เกิดจากอากาศหนาว หรือน้องกระรอกไม่ได้รับความอบอุ่นพอเพียง จะมีอาการจมูกแห้ง (เริ่มไม่สบาย) ซึ่งปกติแล้วจมูกของน้องกระรอกจะ ชื้นเล็กน้อย ถ้าไม่สบายแล้วจะมีน้ำมูกใสๆออกมา หรือจามบ่อยๆ ถ้าเป็นมากจะไม่ค่อยกินอาหารหรือซึมๆ ซึ่งจะดูได้ยากเพราะช่วงอายุนี้ น้องกระรอกจะนอนเป็นส่วนใหญ่ ขั้นต้นคือทำให้อบอุ่นมากๆ แล้วรีบพาไปหาหมอ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน อาจทำให้ลุกลามเป็นปอดบวมและตายได้ในที่สุด

5.ยังไม่ลืมตา สำหรับคนที่เลี้ยงลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตา ควรดูแลมากเป็นพิเศษ เพราะมี
โอกาสตายสูงมากหากเลี้ยงไม่เป็น หรือไม่เอาใจใส่ ควรช่วยกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยลืมตาบ้างด้วยการ ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดเบาๆที่ตา เหมือนแม่ของเจ้าตัวน้อย

Nan (Member)

NU B Regular Member

ตามนั้นค่ะ
Page : 1
Lock Reply

บทความ

กระต่าย

กระรอก

แฮมสเตอร์

Cavy Group

ชูก้าไกลเดอร์

Exitic Pet ชนิดอื่นๆ

 

 

ข้อมูลและรูปที่มีอยู่ในเวบไซส์นี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้านมีจุดประสงค์เพื่อ
ให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้และแนวทางเท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากสนใจนำข้อความไปใช้ เพียงแจ้งทางเรา และให้เครดิตเวบไซส์ด้วยค่ะ
www.nubpetshop.com

 
  
view