หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา    บทความ    เว็บบอร์ด    รวมรูปภาพ   การสั่งซื้อ และการชำระเงิน   การจัดส่ง    ติดต่อเรา 

เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 10/02/2010
ปรับปรุง 22/11/2022
สถิติผู้เข้าชม 12,902,421
Page Views 17,225,583
สินค้าทั้งหมด 768
 

หมวดหมู่สินค้า

 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ค้นหา

ราคา :

หมวดหมู่ :

ยี่ห้อ :

รุ่น :


 

ประเภทสินค้า

 

เลี้ยงตัวเดียวจะเหงามั้ย?

                ปกติแฮมสเตอร์จะอยู่รวมฝูง หรือเป็นสัตว์สังคม การที่แฮมสเตอร์อู่ตัวเดียวอาจทำให้เค้าเหงา และซึมเศร้า แต่แฮมสเตอร์ก็มักจะชอบมีอาณาเขตของตัวเอง พอมีตัวใหม่แปลกถิ่นเข้ามาก็จะกัด และเข้าปกป้องอาณาเขตของตัวเอง หากเราจะเลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนยามเหงา อาจเลี้ยง 1-2 ตัว หากจะเลี้ยง 1 ตัว ควรมีเวลาเล่น และดูแลเค้ามากๆ แต่หากไม่มีเวลาจริงๆ หาเพื่อนให้เค้าอีกสักตัวคงจะดีไม่น้อย

ทำไมแฮมสเตอร์ต้องกัดกัน
        เราอาจเคยเลี้ยงแฮมสเตอร์อยู่รวมกัน แต่วันนึงตัวที่เล็กที่สุด โดนกัด และกินเนื้อ ซึ่งสำหรับเอาจเป็นเรื่องโหดร้าย แต่ในธรรมชาติคือกฏแห่งการคัดเลือกตามธรรมชาติ ผู้ที่แข็งแรงเท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอด (ตามทฤษฏีของ ชาร์ล ดาวิน) และในธรรมชาติแฮมสเตอร์ก็กินเนื้อสัตว์อยู่แล้วนะคะ ซึ่งการกัดกินเนื้อก็มีอยู่หลายสาเหตุ เช่น อาจจะโปรตีนไม่พอ เพราะบางบ้านเลี้ยงด้วยเมล็ดทานตะวันเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ถูกต้อง แฮมสเตอร์ต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แฮมสเตอร์เป็น Omnivore คือ กินทั้งพืชและสัตว์ ดังนั้นควรให้แฮมสเตอร์ได้รับเนื้อสัตว์บ้าง
        บางคนกลัวว่ากินเนื้อแล้วจะดุขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนอยู่บ้าง แต่หากไม่ให้เลยอาจทำร้ายพวกเดียวกัน เพื่อกินกันเอง เนื่องจากขาดโปรตีน

        และอีกสาเหตุที่กัดกันคือป้องกันอาณาเขตตนเอง การทีมีแฮมสเตอร์ใหม่ๆเข้ามาย่อมถูกขับไล่ไป ซึ่งในธรรมชาติ แฮมสเตอร์ตัวใหม่ที่หลงเข้ามา อาจถูกรุมกันจนตาย เมื่อข้ามอาณาเขต ทางเดียวที่จะรอด คือหนีออกไปให้ไกลที่สุด และการที่แฮมสเตอร์ต้องอยู่ตัวเดียวในธรรมชาติค่อนข้างอันตาย การมีฝูงช่วยระวังภัยจะปลอดภัยมากสำหรับสัตว์ที่มีศัตรูมากอย่างแฮมสเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น งู นก แมลงใหญ่ๆต่างๆ ดังนั้นแฮมสเตอร์ตัวที่ถูกขับออกจากฝูงมักไม่ค่อยมีชีวิตรอด

        การทำให้แฮมสเตอร์อยู่ด้วยกันได้ เมื่อมีตัวใหม่เข้ามา อาจทำให้ทุกตัวรู้สึกว่านี่คืออาณาเขตใหม่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ โดยการล้างกรง เปลี่ยนวัสดุรองนอน แล้วค่อยนำแฮมสเตอร์นั้นอยู่รวมกัน

        แต่เดิมเคยเข้าใจว่า ถ้าเพศเดียวกันจะกัดกัน แต่เมื่อเลี้ยงไปนานๆ ทำให้รู้ว่า เพศเดียวกันไม่จำเป็นต้องกัดกันเสมอไป ส่วนใหญ่กัดกันเนื่องจากการแย่งเพศตรงข้าม และตามธรมชาติตัวที่ชนะ คือตัวที่จะได้ดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป แต่หากมีหนูหัวโจก ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็กัดตัวอื่นไปทั่ว ต้องทำการแยกตัวที่เป็นตัวกัดออกทันที  
 
         พ่อ และแม่หนูของทางร้าน ( Nu B Hamster Farm) เมื่อหนูอายุมากจนไม่สามารถให้กำเนิดลูกได้ จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับตัวผู้ และส่วนสำหรับตัวเมีย ซึ่งสามารถอยู่ด้วยกันได้ โดยไม่กัดกัน ไม่คอยมีปัญหากัดกันในตัวผู้ แต่พบในตัวเมียมากกว่า        กรณีที่หนูอยู่รวมฝูงกันมาตั้งแต่เด็กๆเมื่อโตขึ้นก็สามารถอยู่รวมกันได้ จนสิ้นอายุขัย เราสามารถตัดปัญหาการผสมพันธุ์กันในหมู้พี่น้องโดยแยกกรงนึงเพศผู้ อีกกรงเพศเมีย


จะเลี้ยงเพศอะไรดี
        ต้องถามตัวเองดูก่อนว่า จะเลี้ยงกี่ตัว และถ้าจะเลี้ยงมากกว่า 1 ตัว ถ้าเลี้ยงคนละเพศเพร้อมที่จะเลี้ยงลูกๆของพวกเค้าได้หรือไม่ แฮมสเตอร์ สามารถมีลูกได้เดือนละ 2 คลอก แต่ละคลอกอาจมากกว่า 5 ตัว หากคิดว่าไม่สามารถเลี้ยงดูได้มากขนาดนั้น ควรเลือกแฮมสเตอร์เพศเดียวกัน เพื่อไม่ให้มีการเพิ่มประชากรแฮมสเตอร์ แฮมสเตอร์เพศผู้


*** ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้าน
ที่ต้องการให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้เท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต ***


บทความ

กระต่าย

กระรอก

แฮมสเตอร์

Cavy Group

ชูก้าไกลเดอร์

Exitic Pet ชนิดอื่นๆ

 

 

ข้อมูลและรูปที่มีอยู่ในเวบไซส์นี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้านมีจุดประสงค์เพื่อ
ให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้และแนวทางเท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากสนใจนำข้อความไปใช้ เพียงแจ้งทางเรา และให้เครดิตเวบไซส์ด้วยค่ะ
www.nubpetshop.com

 
  
view