หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา    บทความ    เว็บบอร์ด    รวมรูปภาพ   การสั่งซื้อ และการชำระเงิน   การจัดส่ง    ติดต่อเรา 

เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 10/02/2010
ปรับปรุง 22/11/2022
สถิติผู้เข้าชม 12,902,102
Page Views 17,225,244
สินค้าทั้งหมด 768
 

หมวดหมู่สินค้า

 
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ค้นหา

ราคา :

หมวดหมู่ :

ยี่ห้อ :

รุ่น :


 

ประเภทสินค้า

 

การดูแลกระรอก

การดูแลกระรอก

1. รังนอน
กระรอกชอบนอนที่มืดๆ และให้ความอบอุ่นได้ดี ในธรรมชาติกระรอกมักสร้างรังตามโพรงต้นไม้
หรือในลูกมะพร้าว ดังนั้นเราควรหากล่อง ผ้า หรือรัง ที่สามารถให้กระรอกแอบได้
กระรอกไม่ชอบที่แจ้ง และอาจระแวงได้ง่าย


2. อาหาร
การให้อาหารอาจให้ทั้งวัน อาจให้ผลไม้สด หรือธัญพืชต่างๆ ในปัจจุบันด้วยความรีบเร่ง
และหาซื้อผลไม้สดได้ยากมากขึ้น อาหารแห้งบางประเภทจึงเข้ามาแทนที่
ซึ่งการให้อาหารแห้งนั้นต้องฝึกตั้งแต่กระรอกยังอายุน้อยๆ ให้ชินกับการกินอาหารประเภทนี้
ไม่สามารถฝึกตอนโตได้


3. น้ำ

สัตว์ทุกชนิดต้องการน้ำ ในธรรมชาติแม้ว่ากระรอกไม่อาจกินน้ำตามบ่อ หรือคลอง
แต่กระรอกได้น้ำจากผลไม้ที่กิน และน้ำค้างยามเช้า เราควรมีขวดน้ำเล็กๆติดกรงไว้สำหรับกระรอก
โดยเฉพาะกระรอกที่กินอาหารแห้งควรมีน้ำสะอาดไว้เสมอ


4. นิสัยชอบแทะของกระรอก
กระรอกกับการแทะเป็นของู่กัน เพราะกระรอกเป็นสัตว์ฟันแทะ นิสัยส่วนใหญ่จะแทะ ๆๆ และแทะ
หากกระรอกไม่ได้แทะจะทำให้ฟันยาว ไม่จำเป็นที่จะต้องตัดฟันกระรอก
เพราะไม่ช่วยให้กระรอกเลิกนิสัยแทะ ควรหาไม้แข็งๆ ไว้ให้กระรอกแทะจะดีกว่า


5. การตัดฟัน
เป็นคำถามยอดฮิต ว่าตัดฟันแล้วกระรอกจะไม่กัด เป็นความคิดที่ผิด
กระรอกจะไม่กัดคนให้อาหาร
หรือเจ้าของที่เลี้ยงดู ถึงจะตัดฟัน อาจไม่กัดในช่วงสั้นๆ พอฟันขึ้นก็กัดเหมือนเดิม
การตัดฟันอันตรายต่อกระรอกมาก โดยเฉพาะฟันล่าง หากตัดมากไป
กระรอกเล็กตายภายใน 3-5 วัน
กระรอกโต ตายใน 7-10 วัน ใช้ความเข้าใจดูแลเค้าจะดีกว่าค่ะ


6. การเป็นสัด
กระรอกแต่ละสายพันธุ์จะมีช่วงอายุการเป็นสัดต่างกัน และช่วงฤดูก็ต่างกัน
นิสัยช่วงเป็นสัด ตัวเมียจะดุมากกว่าตัวผู้ แต่แม้ว่าจะเป็นสัดกระรอกจะไม่กัดเจ้าของ
หากถูกเลี้ยงมาดีพอ และจะกลับเป็นเช่นเดิมเมื่อายุประมาณ 2 สัปดาห์
กระรอกช่วงเป็นสัดจะขี้หงุดหงิด และดุร้ายกว่าช่วงปกติ ไม่ควให้คนไม่รู้จักมาแหย่
หรือรังแกกระรอกโดยไม่จำเป็นเพราะอาจถูกกัดได้

7. การอาบน้ำ
ลูกกระรอกไม่จำเป็นต้องอาบน้ำ อาจใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวก็เพียงพอ
ยกเว้นตัวเนียวมาก อาจอาบน้ำให้ลูกกระรอก อย่าให้น้ำเข้าหูและจมูก
จากนั้นเช็ดตัว และใช้ไดท์เป่าตัวให้แห้ง ย้ำแห้ง หากตัวชื้นลูกกระรอกอาจเป็นหวัดค่ะ
ส่วนกระรอกโต อาจอาบน้ำเมื่อตัวสกปรก การอาบน้ำเหมือนกระรอกเล็กคือ
อย่าให้น้ำเข้าหูและจมูก เช็ดตัว และใช้ไดท์เป่าให้แห้ง

8. การใส่โซ่
ควรใส่โซ่ตั้งแต่กระรอกอายุน้อยๆ เพราะลูกกระรอกจะยอมใส่ได้ง่าย
และชินกับการใส่โซ่ได้ง่ายกว่า เมื่อกระรอกโตขึ้นจึงค่อยเปลี่ยนโซ่
เพื่อให้พอดีกับขนาดคอของกระรอก ส่วนใหญ่กระรอกที่ไม่เคยใส่โซ่เลย
จนถึงโต จะไม่ยอมใส่โซ่ และแสดงทีท่ารำคาญเมื่อถูกใส่โซ่
สำหรับกระรอกขนาดกลางขึ้นไปควรใช้โซ่สเตนเลส หรือโซ่ทองแดงเคลือบ
เพราะทนต่อการกระตุกมากกว่า โซ่กระรอกสีทั่วไปไม่สาสมารถต้านทานแรงกระตุกของกระรอกได้
หรือขาดเมื่อกระรอกกัดแทะ

 

ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้านมีจุดประสงค์เพื่อ
ให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้และแนวทางเท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากสนใจนำข้อความไปใช้ เพียงแจ้งทางเรา และให้เครดิตเวบไซส์ด้วยค่ะ
www.nubpetshop.com


http://www.nubpetshop.com

บทความ

กระต่าย

กระรอก

แฮมสเตอร์

Cavy Group

ชูก้าไกลเดอร์

Exitic Pet ชนิดอื่นๆ

 

 

ข้อมูลและรูปที่มีอยู่ในเวบไซส์นี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้านมีจุดประสงค์เพื่อ
ให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้และแนวทางเท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากสนใจนำข้อความไปใช้ เพียงแจ้งทางเรา และให้เครดิตเวบไซส์ด้วยค่ะ
www.nubpetshop.com

 
  
view