หน้าแรก   เกี่ยวกับเรา    บทความ    เว็บบอร์ด    รวมรูปภาพ   การสั่งซื้อ และการชำระเงิน   การจัดส่ง    ติดต่อเรา 

เมนู

 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 10/02/2010
ปรับปรุง 10/05/2024
สถิติผู้เข้าชม 17,384,524
Page Views 21,726,989
สินค้าทั้งหมด 768
 

หมวดหมู่สินค้า

 
« September 2024»
SMTWTFS
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930     
ค้นหา

ราคา :

หมวดหมู่ :

ยี่ห้อ :

รุ่น :


 

ประเภทสินค้า

 

การผสมพันธ์ ตั้งท้อง และการเลี้ยงลูก


หัวข้อนี้จะกล่าวตั้งแต่วัยที่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์ การตั้งท้อง จนกระทั่งการเลี้ยงลูกอ่อนจนกระทั่งลูกกระต่ายสามารถดูแลตัวเองได้นะคะ

1. การผสมพันธุ์
2. การตั้งท้อง
4. รังคลอด
3. การคลอดและการเลี้ยงลูกอ่อน

**********

1. การผสมพันธุ์
                   
                    กระต่ายจะเริ่มเป็นสัดครั้งแรกอายุประมาณ 4 เดือน และวัยที่เหมาะสมจริงๆจะอยู๋ที่ประมาณ 7-8 เดือนขึ้นไป เพราะแม่กระต่ายอายุน้อยจะมีสภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ และแม่กระต่ายอาจไม่เลี้ยงลูก เมื่อเลือกกระต่ายที่เหมาะสมกันแล้ว เราก็มาสังเกตุว่าตัวเมียเป็นสัดหรือไม่ สังเกตุโดยดูที่อวัยวะเพศของกระต่ายว่าแดงจัดหรือไม่ หากใช่แสดงว่ากระต่ายพร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้ว จึงนำตัวเมียมาไว้ใสกรงตัวผู้ อาจต้องช่วยจับหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่กรณี และจุดประสงค์ เมื่อกระต่ายเพศผู้ผสมติดแล้ว มักแสดงพฤติกรรม กระทืบเท้าหลัง และพร้อมผสมพันธุ์อีกครั้งในเวลา 10-15 นาที

2. การตั้งท้อง

                  หลังการผสมพันธุ์ กระต่ายอาจตั้งท้อง (ถ้าผสมติด) กระต่ายจะจั้งท้องประมาณ 30 วัน +- 2 วัน เราควรจดวันที่ผสมไว้ด้วย เพื่อที่จะเตรียมการต่อลูกกระต่ายที่จะเกิดมา แม่กระต่ายตั้งท้องจะกินมากขึ้น หลังตั้งท้องประมาณ 2 สัปดาห์ สามารถคลำดูใต้ท้องได้ในช่วงนี้ ไม่ควรให้แม่กระต่ายอ้วนเกินไป เพระจะทำให้คลอดยาก อาจเสริมอัลฟาฟ่า และอาหารโปรตีนสูงขึ้นในช่วงตั้งท้อง 3 อาทิตย์ขึ้นไป เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของลูกในท้อง

4. รังคลอด

                 
ควรน้ำรังคลอดตั้งไว้ในกรงแม่กระต่ายก่อนประมาณ 3-4 วันเพื่อให้แม่กระต่ายทำความค้นเคย สร้างรังสำหรับคลอด รังคลอดที่เหมาะสม พิจารณาจากสาพันธุ์กระต่ายเป็นหลัก เพราะขนาดตัวของแต่ละสายพันธุ์ไม่เท่ากัน ควรใหญ่กว่าตัวกระต่ายอย่างน้อย 1 เท่า เพื่อให้มีพื้นที่ในการกลับตัว หากรังคลอดเล็กเกินไป แม่กระต่ายอาจเหยียบลูกเวลาให้นม ควรวางหญ้าไว้ในรังคลอดด้วย เพื่อปูรองพื้นกรง

 3. การคลอดและการเลี้ยงลูกอ่อน
 
                     ก่อนวันคลอด 1 วัน แม่กระต่ายมักกินน้อยลง และพะวงกับการสร้างรัง แม่กระต่ายจะถอนขนที่ใต้ท้อง สะโพก หรือด้านหลัง เพื่อทำรัง โดยแม่กระต่ายที่ถอนขนมีแนวโน้มจะเลี้ยงลูกมากกว่า เราไม่จะเป็นต้องไปช่วย หรือวุ่นวายกับกระยมากนัก ควรปล่อยให้กระต่ายอยู่อย่างเป็นส่วนตัว อย่าไปรบกวน เพราะอาจทำให้กระต่ายเครียด ( แต่ก็มีกรณียกเว้นนะ ถ้ากระต่ายกับเจ้าของสนิทกันมากๆ กระต่ายจะให้เจ้าของไปช่วยเค้าทำรัง ทำคลอดได้ โดยไม่ระแวง ออกจะดีใจด้วยซ้ำ) เมื่อถอนขนทำรังเสร็จ แม่กระต่ายส่วนใหญ่จะคลอดลูกช่วงเช้ามืด และจะกินรก ทำความสะอาดตัวลูกเรียบร้อย และจะยังไม่ให้นมลูก แม่กระต่ายแต่ละตัวจะมีเวลาให้นมต่างกัน บางตัวให้เช้า บางตัวให้เย็น บางตัวให้ 2 มื้อ (ลองไปแอบดูค่ะ แม่กระต่ายจะให้นมเวลาเดียวกันทุกวันเลย ไม่รู้ๆได้ไง) ลูกกระต่ายจะดูดนมแม่เพียงไม่กี่นาที ท้องก็จะเป่ง 

                     แม่กระต่ายจะเลี้ยงดูลูก จนกระทั่งฟันแข็งเริ่มขึ้น แม่จะไม่ยอมให้ลูกดูดนม ลูกกระต่ายจะลืมตาอายุประมาณ 10 วัน เริ่มโดดออกจากรังคลอดอายุประมาณ 21 วัน และเริ่มกินเองได้ เมื่ออายุประมาณ 20-21 วัน โดยจะเริ่มแทะหญ้าที่อยู่ในรังคลอด และเมื่ออกจากรังคลอดได้ จะเริ่มกินอาหารตามแม่กระต่าย ควรเสริมอัลฟาฟ่า และอาหารโปรตีนสูงให้แม่กระต่ายในช่วงนี้ ลูกกระต่ายจะกินอาหารไปพร้อมๆกับนมแม่จนเอายุประมาณ 30 วัน ลูกกระต่ายจะแข็งแรงพอที่จะหย่านมได้ อาจปล่อยให้ลูกอยู่กับแม่จนอายุ 45 วันเพื่อความสมบูรณ์ของลูกกระต่าย
 

ข้อควรระวัง 
1. สังเกตุเต้านมแม่กระต่ายว่าเป็นรอยแดงช้ำ บวมเป่งหรือไม่ เพราะอาจเป็นเต้านมอักเสบ
2. สังเกตุว่าแม่กระต่ายตัวร้อนจัด ซึม ไม่กินอาหาร ซึ่งอาจเป็นอาการแสดงว่าแม่กระต่ายเป็นไข้น้ำนม
3. แม่กระต่ายบางตัวมีน้ำนมที่ไม่ดี ลูกกระต่ายท้องเสีย ควรหาแม่นมทดแทน ถ้าเป็นไปได้ 

ที่มา : http://www.countryrabbitfarm.com/index.php?mo=3&art=338319 

บทความ

กระต่าย

กระรอก

แฮมสเตอร์

Cavy Group

ชูก้าไกลเดอร์

Exitic Pet ชนิดอื่นๆ

 

 

ข้อมูลและรูปที่มีอยู่ในเวบไซส์นี้มาจากประสบการณ์การเลี้ยงของทางร้านมีจุดประสงค์เพื่อ
ให้ลูกค้าหรือผู้สนใจเข้ามาอ่านเพื่อเป็นความรู้และแนวทางเท่านั้น
ห้ามลอกเลียนแบบ หรือนำไปอ้างอิงโดยไม่ได้รับอนุญาต
หากสนใจนำข้อความไปใช้ เพียงแจ้งทางเรา และให้เครดิตเวบไซส์ด้วยค่ะ
www.nubpetshop.com

 
  
view